ข้อมูลสภาพการณ์ความเสี่ยง (Risk Profile) จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของจังหวัด
การวิเคราะห์ห่วงโซ่ผลกระทบ (Impact Chain Analysis)
ตารางความเสี่ยงและแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรายสาขา
ตารางแสดงความเสี่ยงและแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรายสาขาทั้งหมด
โครงการ / เรื่อง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ด้านที่ 1 |
ด้านที่ 2 |
ด้านที่ 3 |
ด้านที่ 4 |
ด้านที่ 5 |
ด้านที่ 6 |
จัดการ | |
1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการเตรียมรับมือกับอุทกภัย ที่มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ระบบนิเวศ และชุมชน |
ดูข้อมูล | ||||||
2. เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ โดยปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำ ปรับปรุงลำน้ำธรรมชาติที่ตื้นเขิน และปรับปรุงระบบการระบายน้ำที่อยู่ในเขตชุมชนเมืองและพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ท่อระบายน้ำ ร่องน้ำ |
ดูข้อมูล | ||||||
3. พัฒนาระบบป้องกันน้ำท่วมในเขตเมือง โดยการจัดทำผังน้ำ ผังการระบายน้ำ ในระดับลุ่มน้ำ จังหวัดและเมือง |
ดูข้อมูล | ||||||
4. จัดทำแผนป้องกันและลดมลพิษในกรณีอุทกภัยในพื้นที่เสี่ยง เพื่อเตรียมความพร้อมและป้องกันการแพร่กระจายของมลพิษ เช่น ขยะ น้ำเสีย แหล่งกำเนิดสารเคมี เป็นต้น |
ดูข้อมูล | ||||||
1. พัฒนาการจัดทำ Water footprint และระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำต้นทุนและความต้องการใช้น้ำของผู้ใช้น้ำในภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อใช้ในการวางแผนจัดการน้ำอย่างสมดุล (Water balance) มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม โดยผนวกข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการจัดการน้ำ |
ดูข้อมูล | ||||||
2. เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำต้นทุนและแหล่งกักเก็บน้ำ โดยกำหนดสัดส่วนการใช้น้ำในกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำท่าและน้ำที่กักเก็บ ภายใต้เงื่อนไขการคาดการณ์ปริมาณน้ำต้นทุนจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งพัฒนาระบบโครงข่ายกระจายน้ำ (Water grid) เพื่อแบ่งปันน้ำระหว่างแหล่งที่มีน้ำต้นทุนมากไปยังแหล่งที่ขาดแคลน |
ดูข้อมูล | ||||||
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสำรองน้ำฝน และ จัดสรรน้ำในพื้นที่ประสบภัยแล้งซ้าซาก พื้นที่นอกเขต ชลประทาน และพื้นที่ที่ยังใช้น้ำบาดาล |
ดูข้อมูล | ||||||
4. เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำใต้ดินร่วมกับการใช้น้ำผิวดินในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง ตามศักยภาพของลุ่มน้ำ โดยพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำท่า ควบคู่กับการกำหนดสัดส่วนการใช้น้ำในกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งพิจารณาถึงการรักษาสมดุลทางนิเวศวิทยาด้านท้ายน้ำ |
ดูข้อมูล | ||||||
1. อนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติในจังหวัดโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน |
ดูข้อมูล | ||||||
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดและควบคุมการระบายน้ำเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม |
ดูข้อมูล | ||||||
3. ส่งเสริมการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีการบาบัดน้ำเสียเพื่อนำน้ำหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ในภาคครัวเรือนและอุตสาหกรรม เพื่อช่วยลดผลกระทบเรื่องความต้องการใช้น้ำในสภาวะขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ภัยแล้ง |
ดูข้อมูล | ||||||
1. พัฒนาระบบการพยากรณ์และกลไกการรายงานสถานการณ์น้ำ ให้มีความถูกต้องแม่นยำ โดยบูรณาการข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมกับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ในการคาดการณ์ และสามารถถ่ายทอดไปยังผู้ใช้งานในระดับพื้นที่ |
ดูข้อมูล | ||||||
2. บูรณาการการจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยในลักษณะของ One map ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคาดการณ์ผลกระทบด้านการจัดการน้ำจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับพื้นที่ |
ดูข้อมูล | ||||||
3. จัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แผนแม่บทระดับลุ่มน้ำ และแผนปฏิบัติการ รวมทั้งการจัดทำแผนบริหารน้ำในสภาวะวิกฤติโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน |
ดูข้อมูล | ||||||
4. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังภัยพิบัติที่สืบเนื่องจากสภาพภูมิอากาศในพื้นที่เสี่ยง |
ดูข้อมูล | ||||||
1. ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตพืชให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
ดูข้อมูล | ||||||
2. ส่งเสริมระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานหรือพืชหมุนเวียน เพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป |
ดูข้อมูล | ||||||
3. ส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความเสื่อมโทรมของดิน เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อหน่วย เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร และสามารถนำพื้นที่มาใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
ดูข้อมูล | ||||||
1. พัฒนาการจัดการระบบปศุสัตว์และการผลิตสินค้าจาก ปศุสัตว์ให้สอดคล้องกับแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
ดูข้อมูล | ||||||
1. พัฒนาระบบการป้องกันและลดผลกระทบของความเสียหายจากอุทกภัยและภัยแล้งในการทำการประมงและการผลิตสัตว์น้ำ |
ดูข้อมูล | ||||||
1. พัฒนากลไกการเตือนภัยและรายงานสถานการณ์เตือนภัยทางการเกษตร ที่มีความแม่นยำ เข้าถึงง่าย ทันต่อ เหตุการณ์ และสามารถเชื่อมโยงกับระบบเตือนภัยอื่น ๆ (อุทกภัย ภัยแล้ง วาตภัย) ที่เกี่ยวข้องได้อย่างสมบูรณ์ |
ดูข้อมูล | ||||||
2. จัดทำแผนที่พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยและคาดการณ์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับพื้นที่ และเผยแพร่ให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้ประโยชน์ได้ |
ดูข้อมูล | ||||||
3. ส่งเสริมการผลิตตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรกรรม ยั่งยืน การเกษตรผสมผสาน เพื่อให้มีอาหารเพียงพอกับการบริโภคในครัวเรือน และลดความเสี่ยงในการขาดแคลนอาหาร เพื่อการเข้าถึงอาหารได้ตลอดเวลา |
ดูข้อมูล | ||||||
4. สนับสนุนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการเกษตรในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อร่วมมือกันในการเฝ้าระวัง เตือนภัย และ ประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมทางการเกษตร และเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่บริบทของชุมชน โดยให้ชุมชนเป็นแกนกลางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ พร้อมกับพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งนักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชนในท้องถิ่น และเกษตรกรรายย่อยในชุมชน |
ดูข้อมูล | ||||||
5. สร้างความตระหนักรู้ต่อเกษตรกรถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเกษตร และพัฒนาศักยภาพในการรับมือและจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการรวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้จากผลงานทางวิชาการและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบและการรับมือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตร นำไปเผยแพร่ต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนในวงกว้างเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรตามประเภทของการเกษตร เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการรับมือและจัดการความเสี่ยง |
ดูข้อมูล | ||||||
1. พัฒนาและสำรองแหล่งน้ำเพิ่มในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งโดยคำนึงถึงระบบนิเวศ ให้เพียงพอต่อความต้องการในการให้บริการท่องเที่ยวในสถานการณ์ภัยแล้ง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำในภาคส่วนอื่น |
ดูข้อมูล | ||||||
1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบป้องกันน้ำท่วมของแหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปกรรมในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวศิลปกรรม โบราณสถานอันควรอนุรักษ์ และพื้นที่ในเขตมรดกโลกทางวัฒนธรรม |
ดูข้อมูล | ||||||
1. พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนการเพิ่มภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ |
ดูข้อมูล | ||||||
2. เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการท่องเที่ยว ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการรูปแบบสินค้า กิจกรรมหรือบริการด้านการท่องเที่ยวที่หลากหลาย โดยการอบรมให้ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว รวมทั้งการวางแผนและพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยว |
ดูข้อมูล | ||||||
1. การเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันและดูแลสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพ ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มวัยทางาน (เกษตรกรและผู้ที่ต้องปฏิบัติงานกลางแจ้ง) และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสต่อความเสี่ยงทางสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
ดูข้อมูล | ||||||
2. พัฒนาศักยภาพประชาชนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก ในเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการแก้ไขปัญหาและปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างเหมาะสม |
ดูข้อมูล | ||||||
1. ปรับปรุงระบบประกันสุขภาพให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ครอบคลุมประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มีความอ่อนไหวต่อปัจจัยทางภูมิอากาศ |
ดูข้อมูล | ||||||
2. พัฒนาโครงสร้างของสถานบริการสาธารณสุขให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัย |
ดูข้อมูล | ||||||
1. สนับสนุนการปลูกป่าและเพิ่มพื้นที่ป่า ในพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกหรือทำลาย ป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม หรือพื้นที่ว่างนอกเขตป่าธรรมชาติ รวมทั้งพื้นที่ป่าของเอกชน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยรอบพื้นที่ป่า พร้อมทั้งบูรณาการการดำเนินงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลหลังการปลูก |
ดูข้อมูล | ||||||
2. พัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า |
ดูข้อมูล | ||||||
1. ส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาด (Wise use) และยั่งยืน โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่น |
ดูข้อมูล | ||||||
1. ส่งเสริมความร่วมมือจากภาคเอกชนและภาคประชาชนในการสงวนรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านแนวทางการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) |
ดูข้อมูล | ||||||
2. สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพิ่มขีดความสามารถให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและประโยชน์ต่าง ๆ จากระบบนิเวศ |
ดูข้อมูล | ||||||
1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จาเป็นและมีความคงทนและสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องในสภาวะฉุกเฉิน และประชาชนสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานหลักได้สะดวกทั้งในสถานการณ์ปกติ และหลังการเกิดภัย ช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกอื่นในการเดินทางหากระบบใดระบบหนึ่งเกิดปัญหาขัดข้อง |
ดูข้อมูล | ||||||
2. ผลักดันให้มีข้อกาหนดของผังเมืองหรือกฎหมายควบคุมอาคารในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยอาคารที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงจะต้องมีโครงสร้างที่มีความมั่นคงแข็งแรง และมีรูปแบบที่เหมาะสม |
ดูข้อมูล | ||||||
3. พัฒนาพื้นที่สีเขียวอเนกประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้นและเชื่อมต่อกันทั้งภายในเมืองและบริเวณใกล้เคียง เพื่อลดผลกระทบจากน้าท่วมฉับพลัน ลดความร้อนของเมือง เพิ่มการไหลเวียนของลม ผลประโยชน์เชิงสุขภาพ และเป็นพื้นที่สำหรับอพยพหลบภัย |
ดูข้อมูล | ||||||
4. ประสานและจัดทาแผนในการสำรองระบบที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิตในระดับพื้นที่ เพื่อรองรับกรณีเกิดภัยพิบัติที่สืบเนื่องจากสภาพภูมิอากาศหรือภาวะวิกฤติ |
ดูข้อมูล | ||||||
5. เพิ่มขีดความสามารถของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมในการเตรียมความพร้อมและบริหารจัดการความเสี่ยงจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการมีส่วนร่วมในการประเมินประสิทธิผลของทางเลือกในการปรับตัวรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับบริบทกับประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรมนั้น ๆ เพื่อรับมือกับความเสี่ยงและโอกาสที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
ดูข้อมูล | ||||||
6. สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงข่าวสารข้อมูลให้ทันต่อเหตุการณ์ กำหนดบทบาทและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการเตือนภัยและสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องภายในชุมชนให้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เข้าถึงกลุ่มคนได้ทุกระดับ โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยง |
ดูข้อมูล | ||||||
1. จัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินที่สงวนรักษาพื้นที่ที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ พื้นที่เกษตรกรรม แหล่งน้ำ การอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว เพื่อรักษาระบบนิเวศ และแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง |
ดูข้อมูล | ||||||
2. จัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับท้องถิ่นที่มีความเชื่อมโยงกับแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับชาติ รวมทั้งการประสานการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเสริมสร้าง ขีดความสามารถในการปรับตัว |
ดูข้อมูล | ||||||
3. สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงข่าวสารข้อมูลให้ทันต่อเหตุการณ์ กำหนดบทบาทและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการเตือนภัยและสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องภายในชุมชนให้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เข้าถึงกลุ่มคนได้ทุกระดับ โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยง |
ดูข้อมูล | ||||||
4. พัฒนาระบบสำรองที่จำเป็นภายในครัวเรือนหรือชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยหรือเมื่อถึงฤดูกาลที่เสี่ยงภัย |
ดูข้อมูล | ||||||
1. พัฒนาเกณฑ์และตัวชี้วัดความสามารถในการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเมือง |
ดูข้อมูล | ||||||
2. ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการดำเนินมาตรการรับมือและจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านกลไกทางการเงิน |
ดูข้อมูล | ||||||
3. เพิ่มขีดความสามารถของภาคประชาชนโดยการให้ความรู้ความเข้าใจในการรับมือและจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเพิ่มทางเลือกในการดารงชีวิตภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในกรณีต่าง ๆ |
ดูข้อมูล | ||||||
4. สนับสนุนให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ และได้รับความเป็นธรรม |
ดูข้อมูล |