ข้อมูลสภาพการณ์ความเสี่ยง (Risk Profile) จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของจังหวัด
การวิเคราะห์ห่วงโซ่ผลกระทบ (Impact Chain Analysis)
ตารางความเสี่ยงและแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรายสาขา
ตารางแสดงความเสี่ยงและแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรายสาขาทั้งหมด
โครงการ / เรื่อง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ด้านที่ 1 |
ด้านที่ 2 |
ด้านที่ 3 |
ด้านที่ 4 |
ด้านที่ 5 |
ด้านที่ 6 |
จัดการ | |
1. อนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน เพื่อเก็บรักษาความชุ่มชื้น การดูดซับและชะลอการไหลของน้ำ |
ดูข้อมูล | ||||||
2. ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ต้นน้ำในการกำหนด นโยบายและวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินรวมทั้งอนุรักษ์ป่าพื้นที่ต้นน้ำบริเวณเชิงเขาและพื้นที่สาธารณะเพื่อรักษาความสมดุลทางนิเวศวิทยา |
ดูข้อมูล | ||||||
3. ส่งเสริมการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และสร้างแรงจูงใจให้แก่ชุมชนในพื้นที่ต้นน้ำในการดูแลและรักษาระบบนิเวศ |
ดูข้อมูล | ||||||
1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการเตรียมรับมืออุทกภัยที่มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ระบบ นิเวศ และชุมชน โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมและจัดให้มีกลไกในการสร้างความเป็นธรรมแก่ผู้ได้รับผลกระทบ |
ดูข้อมูล | ||||||
2. เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ โดยการกำจัดสิ่งกีดขวางน้ำและการปรับปรุงลำน้ำธรรมชาติที่ตื้นเขินและปรับปรุงระบบระบายน้ำที่อยู่ในเขตชุมชนเมืองและพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ |
ดูข้อมูล | ||||||
3. จัดทำแผนป้องกันและลดมลพิษในกรณีอุทกภัยในพื้นที่เสี่ยง เพื่อเตรียมความพร้อมและป้องกันการแพร่กระจายของมลพิษ |
ดูข้อมูล | ||||||
4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสำรองน้ำฝนและจัดสรรน้ำในพื้นที่ประสบภัยแล้งซ้ำซาก พื้นที่นอกเขต ชลประทาน และพื้นที่ที่ยังใช้น้ำบาคาล โดยการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กและแหล่งน้ำบาดาล เพื่อการเกษตรนอก เขตชลประทาน รวมทั้งขยายพื้นที่ชลประทานให้ครอบคลุม พื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตร รวมถึงส่งเสริมระบบน้ำสำรองในฤดูแล้ง |
ดูข้อมูล | ||||||
5. เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำใต้ดินร่วมกับการใช้น้ำผิวดินในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งตามศักยภาพของลุ่มน้ำ โดยพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อปรืชิมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำท่า ควบคู่กับการกำหนดสัดส่วนการใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งพิจารณาถึงการรักษาสมดุลทางนิเวศวิทยาด้านท้ายน้ำ |
ดูข้อมูล | ||||||
6. พัฒนาระบบผันน้ำและระบบเชื่อมโยงแหล่งน้ำ โดยพัฒนาโครงข่ายน้ำภายในจังหวัดฯ เพื่อลดความขัดแย้งการใช้น้ำภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม |
ดูข้อมูล | ||||||
1. อนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติ ทั่วจังหวัดฯ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน |
ดูข้อมูล | ||||||
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบีดและควบคุมการระบายน้ำเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาและดพิ่มประสิทธิภาพระบบรวบรวม ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนและการนำน้ำที่บำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่ในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและที่อยู่อาศัย |
ดูข้อมูล | ||||||
3. ส่งเสริมการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสีย เพื่อนำน้ำหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ในภาคครัวเรือนและอุตสหกรรม เพื่อช่วยลดผลกระทบ เรื่องความต้องการใช้น้ำ ในสภาวะขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ภัยแล้ง |
ดูข้อมูล | ||||||
4. เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาการรุกตัวของน้ำเค็มจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล สถานการณ์ภัยแล้งและการเปลี่ยนแปลงของน้ำท่าจากการกระทำของมนุษย์ เพื่อช่วยลดผลกระทบในการใช้น้ำด้านการเกษตร รวมทั้งการผลิตน้ำประปา เพื่ออุปโภคบริโภค |
ดูข้อมูล | ||||||
1. บูรณาการการจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยในลักษณะของ One map ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคาดการณ์ผลกระทบด้านการจัดการน้ำจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับพื้นที่ |
ดูข้อมูล | ||||||
2. จัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแผนแม่บท และแผนปฏิบัติการรวมทั้งการจัดทำแผนบริหารน้ำในสภาวะวิกฤติ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน |
ดูข้อมูล | ||||||
1. ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตพืชในสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
ดูข้อมูล | ||||||
2. ส่งเสริมระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานหรือพืชหมุนเวียน เพื่อลดความเสี่ยงและความเสี่ยหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป |
ดูข้อมูล | ||||||
3. พัฒนาและปรับปรุงการจัดการน้ำของพื้นที่เกษตรกรรมในเขตชลประทานที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากอุทกภัยและภัยแล้งให้มีประสิทธิภาพ โดยการบูรณาการการจัดการน้ำในภาคเกษตรร่วมกับภาคส่วนอื่น ในการกำหนดกรอบการใช้ประโยชน์จากน้ำและลดปัญหาการแย่งชิงน้ำ |
ดูข้อมูล | ||||||
4. พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่เกษตรกรรมนอกเขตชลประทานให้มีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อความต้องการใช้การเพาะปลูก |
ดูข้อมูล | ||||||
5. ส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เกษตรกรกรรมที่มีความเสื่อมโทรมของดิน เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร และสามารถนำพื้นที่มาใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
ดูข้อมูล | ||||||
6. ส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ ในการปลูกพืชแบบใช้น้ำน้อย |
ดูข้อมูล | ||||||
7. ให้ความรู้ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุทางการเกษตร อาทิ ใบอ้อย ต้นข้าวโพด ฟางข้าว เพื่อหลีกเลี่ยงการเผาแปลงหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต |
ดูข้อมูล | ||||||
1. พัฒนาการจัดการระบบปศุสัตว์และการผลิตสินค้าจากปศุสัตว์ให้สอดคล้องกับแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
ดูข้อมูล | ||||||
2. พัฒนาระบบการควบคุมป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและในกรณีโรคระบาดจากอุทกภัยและภัยแล้ง |
ดูข้อมูล | ||||||
1. พัฒนาการจัดการประมงให้สอดคล้องกับแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
ดูข้อมูล | ||||||
2. ฟื้นฟูทรัพยากรประมงและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำเพื่อสร้างสมดุลและความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ |
ดูข้อมูล | ||||||
3. พัฒนาระบบการป้องกันและลดผลกระทบของความเสียหายจากอุทกภัยและภัยแล้งในการทำการประมงและการผลิตสัตว์น้ำ |
ดูข้อมูล | ||||||
1. พัฒนาดัชนีความสามารถในการพึ่งตนเองของภาคเกษตร เมื่อเกิดภัยพิบัติที่สืบเนื่องจากสภาพภูมิอากาศ เพื่อใช้ประเมินความสามารถของเกษตรกรในด้านต่างๆ |
ดูข้อมูล | ||||||
2. พัฒนากลไกการเตือนภัยและรายงานสถานการณ์เตือนภัยทางการเกษตรที่มีความแม่นยำ ทั่งถึง เข้าถึงง่าย ทันต่อเหตุการณ์ และสามารถเชื่อมโยงกับระบบเตือนภัยอื่นๆ |
ดูข้อมูล | ||||||
3. จัดทำแผนที่พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยและคาดการณ์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับพื้นที่และเผยแพร่ให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้ประโยชน์ได้ |
ดูข้อมูล | ||||||
4. พัฒนาการทำการเกษตรแม่นยำสูง (Precision farming) ให้มีต้นทุนที่ลดลง เกษตรกรสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนและการบริหารจัดการในการทำการเกษตร โดยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัฒกรรม รวมทั้งการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น จาการส่งเสริมงานวิจัยร่วมกันระหว่าง ภาครัฐ เกษตรกร นักวิชาการ หน่วยงานด้านการศึกษาและภาคเอกชน |
ดูข้อมูล | ||||||
5. ส่งเสริมการดำหนดพื้นที่ (Zoning) โดยใช้แผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-map) และการผลิตแบบแปลงใหญ่ เพื่อการผลิตแบบครบวงจร โดยใช้หลักเกณฑ์ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ ความเหมาะสมของดิน สภาพภูมิอากาศ และสภาพทางเศรษฐกิจ โดยกำหนดและจัดสรรเขตการพัฒนาพื้นที่สำหรับการเกษตรกรรมแต่ละชนิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพในหารผลิตและช่วยจัดการเรื่องการตลาดของผลผลติทางการเกษตรอย่างเป็นระบบ |
ดูข้อมูล | ||||||
6. ส่งเสริมการผลิตตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรกรรมยั่งยืน การเกษตรผสมผสาน เพื่อให้มีอาหารเพียงพอกับการบริโภคใรครัวเรือนและลดความเสี่ยงในการขาดแคลนอาหารเพื่อการเข้าถึงอาหารได้ตลอดเวลา |
ดูข้อมูล | ||||||
7. การส่งเสริมและอบรมให้ความรู้ในการเก็บรักษาและแปรรูปอาหารสดและผลผลิตทางการเกษตร เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาเป็นอาหารสำรองในยามฉุกเฉินได้ |
ดูข้อมูล | ||||||
8. จัดตั้งธนาคารพันธุ์พืช พันธุ์ปศุสัตว์ พันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อเป็นแหล่งกู้ยืมปัยจัยการผลิต และเป็นแหล่งสำรองในภาวะภัยพิบัติทางะรรมชาติ |
ดูข้อมูล | ||||||
9. ส่งเสริมการปรับปรุงพันธุ์พืช/พันธุ์สัตว์ และสนับสนุนการเข้าถึงของเกษตรกรให้สามารถใช้พันธุ์พืช/พันธุ์สัตว์ที่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
ดูข้อมูล | ||||||
10. พัฒนาระบบการสำรองอาหาร พร้อมทั้งกลไกการกระจายอาหารที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งแผนการป้องกันการขาดแคลนวัตถุดิบในอุตสาหกรรม เพื่อรอบรับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความเสียหายต้อผลผลิตทางการเกษตร |
ดูข้อมูล | ||||||
11. สนับสนุนการวิจัยพัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อลดการสูญเสีย (Food loss food waste) ของผลผลิตการเกษตร โดยการวิจัยพัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อลดการสูญเสียในระหว่างการผลิตและการเก็บเกี่ยวการขนส่ง ระดับไร่นา และรักษาคุณภาพสินค้าและอาหารให้ได้นานที่สุด รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีใหม่ในการแปรรูป เพื่อลดการสูญเสียรักษาคุณภาพ เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและอาหาร เพื่อรองรับกรณีภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรและการผลิตอาหารที่ลดลง |
ดูข้อมูล | ||||||
12. สนับสนุนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการเกษตรในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อร่วมมือกันในการเฝ้าระวังเตือนภัย และประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัฒนกรรมทางการเกษตรและเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่บริบทของชุมชน โดยให้ชุมชนเป็นแกนกลางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ พร้อมกับพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งนักวิชาการ หน่วยงาน ภาครัฐ หน่วยงานภาคดชเอกชนนื้องถิ่น และเกษตรกรรายย่อยในชุมชน |
ดูข้อมูล | ||||||
13. สร้างความตระหนักรู้ต่อเกษตรกรถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเกษตร และพัฒนาศักยภาพในการรับมือและจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการรวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้จากผลงานทางวิชาการและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบและการรับมือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตร นำไปเผยแพร่ต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนในวงกว้างเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรตามประเภทของการเกษตร เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการรับมือและจัดการความเสี่ยง |
ดูข้อมูล | ||||||
14. พัฒนางานวิจัยเพื่อประเมินปัยจัยของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเพาะปลูกพืช การผลิตปศุสัตว์ และทรัพยากรประมงรวมถึงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะพืชและสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดและผลกระทบที่เชื่อมโยงกับระบบการค้าและอุตสาหกรรมแปรรูป เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดมาตรการ |
ดูข้อมูล | ||||||
15. พัฒนางานวิจัยเพื่อประเมินปัยจัยของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเพาะปลูกพืช การผลิตปศุสัตว์ และทรัพยากรประมงรวมถึงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะพืชและสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดและผลกระทบที่เชื่อมโยงกับระบบการค้าและอุตสาหกรรมแปรรูป เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดมาตรการ |
ดูข้อมูล | ||||||
1. ปรับปรุงปฎิทินการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล |
ดูข้อมูล | ||||||
2. กำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวในพื้นที่เสี่ยง และช่วงเวลาการให้บริการที่เหมาะสมหรือจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวในบางฟดูกาล โดยคำนึงศักยภาพในการรับรองของพื้นที่ (Carrying capacity) |
ดูข้อมูล | ||||||
3. พัฒนาและสำรองแหล่งน้ำเพิ่มในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง โดยคำนึงถึงระบบนิเวศให้เพียงพอต่อความต้องการในการบริการท่องเที่ยวในสถานการณ์ภัยแล้ง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำในภาคส่วนอื่น |
ดูข้อมูล | ||||||
4. เพิ่มมาตรการการจัดการท่องเที่ยวทางทะเลที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว ให้เอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวตามธรรมชาติของปะการัง |
ดูข้อมูล | ||||||
5. จัดทำแผนการรับมือในสถานการณ์เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งแผนการหลบภัย การอพยพและการสำรองอาหารและน้ำดื่ม รวมทั้งแหล่งพลังงานสำรอง โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
ดูข้อมูล | ||||||
1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบป้องกันน้ำท่วมของแหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปกรรมในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย โดยเฉพาะแหล่องท่องเที่ยวศิลปกรรม โบราณสถาน อันควรอนุรักษ์ และพื้นที่ในเขตมรดกโลกทางวัฒนธรรม |
ดูข้อมูล | ||||||
2. เพิ่มมาตรการป้องกันกการผุกร่อนของสิ่งปลูกสร้างและสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าเชิงศิลปกรรมจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิความชื้น และระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ |
ดูข้อมูล | ||||||
3. เพิ่มมาตรการการป้องกันความเสียหายในเชิงโครงสร้างให้กับสิ่งปลูกสร้างและสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าเชิงศิลปกรรมที่เสี่ยงต่อความเสียหายจากภัยพิบัติที่สืบเนื่องจากสภาพภูมิอากาศ |
ดูข้อมูล | ||||||
1. จัดทำข้อมูลการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบของแหล่งท่องเที่ยวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งแผนที่ความเสี่ยง เพื่อระบุแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในแหล่งท่องเที่ยวและสร้างความรู้ความเข้าใจต่อการจัดทำแผนที่บริหารความเสี่ยงที่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง |
ดูข้อมูล | ||||||
2. พัฒนาหรือปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานภายในแหล่งท่องเที่ยว เพื่อบรรเทาและผลผลกระทบจากสภาวะอากาศร้อนจัด ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ |
ดูข้อมูล | ||||||
3. บูรณาการแผนการปรับตัวต่อความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศด้านการท่องเที่ยวเข้ากับแผนของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยกระบวนการมีส่วรร่วมของชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว |
ดูข้อมูล | ||||||
4. พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนการเพิ่มภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ |
ดูข้อมูล | ||||||
5. เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการการท่องเที่ยวชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการรูปแบบสินค้า กิจกรรมกรือบริการด้านการท่องเที่ยวที่หลากหลายเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการอบรมให้ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว รวมทั้งการวางแผนและพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยว |
ดูข้อมูล | ||||||
6. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business continuity Plan : BCP) โดยนำปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาประกอบการประเมินความเสี่ยงองค์กร ทั้งความเสี่ยงจากภัยพิบัติที่สืบเนื่องจากสภาพภูมิอากาศ การแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ หรือการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ |
ดูข้อมูล | ||||||
7. พัฒนากลไกการแจ้งเตือนภัยด้านการท่องเที่ยวที่มีการทำงานเชื่อมโยงกับระบบเตือนภัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างบูรณาการและทำงานได้อย่างสมบูรณ์ รวมทั้งสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งประกอบด้วย ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการท่องเที่ยว เพื่อร่วมวางแผน แบ่งปันข้อมูลองค์ความรู้ เฝ้าระวัง และกำหนดมาตรการในการลดความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งเตรียมการรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต |
ดูข้อมูล | ||||||
8. สร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวถึงความเสี่ยงและความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณค่าเชิงศิลปกรรมและทางธรรมชาติ เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีการทำกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบป้องกันและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณค่าเชิงศิลปกรรมและทางธรรมชาติ |
ดูข้อมูล | ||||||
9. สร้างความรู้ความเข้าใจและจัดทำคู่มือให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล หรือนักท่องเที่ยวเกี่ยวการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับนักท่องเที่ยวที่อาจเกิดภาวะเจ็บป่วยไม่สบาย จากสภาพการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
ดูข้อมูล | ||||||
1. การเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันและดูแลสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงด้ายสุขภาพ ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มวัยทำงาน (เกษตรกรและผู้ที่ต้องปฎิบัติงานกลางแจ้ง) และกลุ่มผู้ด้วยโอกาศต่อความเสี่ยงทางสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
ดูข้อมูล | ||||||
2. พัฒนาศักยภาพประชาชนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักรู้ในเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ละส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วรร่วมในการจัดการแก้ไขปัญหาและปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างเหมาะสม |
ดูข้อมูล | ||||||
1. พัฒนาระบบเฝ้าระวังและคาดการณ์ความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีการบูรณาการกับภาคีเครือข่ายทุกระดับ โดยการจัดทำแผนที่เสี่ยงด้านสุขภาพและพัฒนากลไกการเตือนภัยด้านสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
ดูข้อมูล | ||||||
2. พัฒนาต้นแบบโรงพยาบาลและชุมชนในการลดและจัดการความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับพื้นที่ โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชน ชุมชนท้องถิ่นและภาคีทุกภาคส่วนในระดับพื้นที่ และขยายผลรูปแบบในการจัดการความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดจาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปยังโรงพยาบาลอื่นๆ ทั้งทั้งประเทศ |
ดูข้อมูล | ||||||
3. พัฒนามาตรฐานการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินเมื่อเกิดปัญหาดด้านสาธารณสุขจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
ดูข้อมูล | ||||||
4. เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขในทุกระดับ เพื่อรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเชิงรุก โดยการให้บริการข้อมูลแนะนำการสร้างความตระหนักแก่ประชาชนในการปรับตัวในรูปแบบต่างๆ และทำหน้าที่ประสานงานการปฏิบัติงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และราชการส่วนภูมิภาคในการเฝ้าระวังและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการสนับสนุนการทำงานในเชิงรุกของหน่วยงานระดับพื้นที่ เครือข่ายและอาสาสมัครทางสาธารณสุข |
ดูข้อมูล | ||||||
5. พัฒนากลไกความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งในและนอกระบบสาธารณสุข ในการบริหารจัดการเพื่อป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสร้างกระบวนงานการมีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างส่วนราชการ สถาบันการศึกษา ภาคท้องถิ่นและภาคประชาชน ในการขับเคลื่อนการเฝ้าระวังและเตรียมรับมือภัยต่อสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประสานเครือข่ายข้อมูลความแปรปรวนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและเตรียมการรับมือภัยสุขภาพได้ทันท่วงที |
ดูข้อมูล | ||||||
6. พัฒนาโครงสร้างของสถานบริการสาธารณสุขให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัย |
ดูข้อมูล | ||||||
1. สงวนและคุ้มครองพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ยังคงมีสภาพป่าสมบูรณ์ โดยให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และบริหารจัดการกลุ่มป่า การปลุกป่าเป็นแนวเชื่อมต่อระหว่างป่า (Ecological corridor) การปลุกป่าเป็นแนวกันชน (Buffer) เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการอนุรักษ์ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นแหล่งดุดซับน้ำฝนและเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนในแต่ละลุ่มน้ำ และบรรเทาปัญหาดินถล่ม ควบคู่ไปกับการป้องกันแก้ไขปัญหาการบุกรุกทำลายพื้นป่า |
ดูข้อมูล | ||||||
2. สนับสนุนการปลุกป่าและเพิ่มพื้นที่ป่า ในพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกหรือทำลาย ป่าต้นน้ำเสื่อมโทรม หรือพื้นที่ว่างนอกเขตป่าธรรมชาติรวมทั้งพื้นที่ป่าของเอกชน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยรอบพื้นที่ป่า พร้อมทั้งบูรณาการดำเนินงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลหลังการปลูก |
ดูข้อมูล | ||||||
3. กำหนดกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับป่า โดยใช้แนวทางการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ (Ecosystem-based Adaptation : EbA) เพื่อลดการบุกรุกทำลายป่าเพื่อทำเกษตรเชิงเดี่ยว และส่งเสริมให้มีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลกับระบบนิเวศป่าไม้ |
ดูข้อมูล | ||||||
4. สนับสนุนการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น และชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ในระบบนิเวศบนบก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์กินเนื้อ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งป้องกันชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่อาจแพร่ระบาดเพื่มมากขึ้นจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยการนำชนิดพันธุ์หายากหรือใกล้สูญพันธุ์มาขยายพันธุ์ โดยเฉพาะชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม โดยคำนึงถึงความสมดุลของระบบนิเวศเป็นสำคัญ |
ดูข้อมูล | ||||||
5. พัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าโดยการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการเพิ่มศักยภาพเครือข่ายประชาชนในการป้องกันและควบคุมไฟป่า ด้วยการรณรงค์และสร้างความร่วมมือกับชุมชนไม่ให้มีการเผาป่า หรือเผาเศษวัสดุทางการเกษตร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีช่วยในการบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกทำลายป่า และการเผาป่า และการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง โดยเฉพาะชุมชนในพื้นที่เสี่ยง รวมถึงสนับสนุนการป้องกันการเกิดไฟป่า |
ดูข้อมูล | ||||||
1. ผลัดกันการประกาศเขตคุ้มครองในพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความเปราะบางเชิงนิเวศและเสี่ยงต่อการถูกคุมคามความหลากหลายทางชีวภาพที่อยู่นอกเขตอนุรักษ์โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเร่งฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ |
ดูข้อมูล | ||||||
2. จัดทำแผนการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ ระดับชาติ และ/หรือระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ตลอดจนคุ้มครองและฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ |
ดูข้อมูล | ||||||
3. พัฒนาและฟื้นฟูที่ชุ่มน้ำเพื่อเป็นพื้นที่รองรับน้ำ ช่วยชะลอและป้องกันน้ำท่วม ทั้งพื้นที่ชุ่มน้ำทางธรรมชาติและพื้นที่ชุ่มน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น ดดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและบริการทางนิเวศ |
ดูข้อมูล | ||||||
4. เพิ่มขีดความสามรถในการจัดการความเสี่ยงการเกิดไฟไหม้ในพื้นที่ป่าพรุ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ |
ดูข้อมูล | ||||||
5. ส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาด (Wise use) และยั่งยืน โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่น |
ดูข้อมูล | ||||||
6. การผลักดันพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศไทย เสนอเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (แรมซาร์ไซต์) และพื้นที่เครือข่ายนกอพยพเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
ดูข้อมูล | ||||||
1. อนุรักษ์และคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งเพพิ่มหรือฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการฟื้นฟูความสมบูรณ์และการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งการเฝ้าระวัง และควบคุมการบุกรุกทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย |
ดูข้อมูล | ||||||
2. สนับสนุนการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น และชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งป้องกันชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่อาจแพร่ระบาดเพื่มมากขึ้นจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยการนำชนิดพันธุ์หายากหรือใกล้สูญพันธุ์มาขยายพันธุ์ และพัฒนากฎระเบียบและมาตรการในการอนุรักษ์และคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง โดยเฉพาะชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม โดยคำนึงถึงความสมดุลของระบบนิเวศเป็นสำคัญ |
ดูข้อมูล | ||||||
3. ผลัดกันการประกาศเขตคุ้มครองในพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง ที่มีความเปราะบางเชิงนิเวศ และเสี่ยงต่อการถูกคุมคามความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเร่งฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ |
ดูข้อมูล | ||||||
4. ประเมินดัชนีคุณภาพมหาสมุทร (Ocean health index) และพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและติดตามการเปลี่ยนแปลงน้ำทะเลจากปัจจัยทางภูมิอากาศ |
ดูข้อมูล | ||||||
5. จัดทำแผนบูรณาการการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั่วประเทศ เพื่อลดผลกระทบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยการกำหนดและจำแนกเขตพื้นที่ที่มีปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเล ตามระดับความรุนแรงและความเร่งด่วนของปัญหาหรือมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการการป้องกันและแก้ไขหรือฟื้นฟูพื้นที่แต่ละประเภท และแต่ละแห่งให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ |
ดูข้อมูล | ||||||
6. เพิ่มขีดความสามารถในการรับมือและป้องกันผลกระทบจากคลื่นพายุซัดฝั่งในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล |
ดูข้อมูล | ||||||
7. ส่งเสริมเครือข่ายประชาชน องค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริเวณชายฝั่งทะเลในการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทะเลและชายฝั่ง |
ดูข้อมูล | ||||||
1. พัฒนาตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ (Biological indicators) ชองระบบนิเวศต่างๆ ให้ครอบคลุมพื้นที่เปราะบางเชิงทั่วประเทศ เพื่อใช้ติดตามและประเมินความสมบูรณ์และการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ |
ดูข้อมูล | ||||||
2. พัฒนาการจัดทำค่าดัชนีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามของประเทศไทย (Thailand’s Red list index) ให้มีความสมบูรณ์ โดยการศึกษาและข้อมูลชนิดพันธุ์ที่ยังอยู่ในสถานะ “สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีข้อมูลเพียงพอ” (Data Deficient : DD) เพิ่มเติม และในกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบนบกและกลุ่มพืช ที่ยังไม่ได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น |
ดูข้อมูล | ||||||
3. สร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังและติดตามตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ (Biological indicators) โดยให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อให้สามารถติดตามประเมินความสมบูรณ์และการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ โดยนำมาประยุกต์ใช้อย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น |
ดูข้อมูล | ||||||
4. ศึกษาแนวทางการประกาศพื้นที่คุ้มครองเพื่อรองรับการอพยพย้ายถิ่นของชนิดพันธุ์สัวต์ที่มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
ดูข้อมูล | ||||||
5. ส่งเสริมการศึกษาวิจัยผลกระทบจากปัจจัยภูมิอากาศที่มีต่อระบบนิเวศต่างๆ รวมทั้งชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ส่งผบกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ |
ดูข้อมูล | ||||||
6. พัฒนากลไกที่ช่วยส่งเสริมบทบาทของชุมชนที่มีวิถีชีวิตเชิงนิเวศในการสงวนรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ |
ดูข้อมูล | ||||||
7. ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนที่มีวิถีชีวิตเชิงนิเวศ (Eco-villages) ให้สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน และเพิ่มบทบาทของชุมชนในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลไกระดับชุมชน เพื่อการจัดการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ผสมผสานกับการใช้ความเชื่อ ภูมิปัญญา และวิถีชีวิต เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการอยู่ร่วมกันของคนกับทรัพยากรธรรมชาติ |
ดูข้อมูล | ||||||
8. ส่งเสริมความร่วมมือจากภาคเอกชนและภาคประชาชนในการสงวนรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านแนวทางการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) |
ดูข้อมูล | ||||||
9. สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพิ่มขีดความสามารถให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและประโยชน์ต่างๆ จากระบบนิเวศ |
ดูข้อมูล | ||||||
1. ผลักดันให้ท้องถิ่นบูรณาการประเด็นด้านการปรับตัวและรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เข้ากับแผนและยุทศาสตร์การพัฒนาเมืองชุมชน และท้องถิ่น โดยให้มีแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องและคำนึงถึงปัจจัยทางภูมิอากาศ และมีมาตรการปรับตัวที่ผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนและวิทยาการสมัยใหม่ที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตและเป็นที่ยอมรับของชุมชนซึ่งมีความหลากหลายและแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ |
ดูข้อมูล | ||||||
2. จัดทำผังเมืองเฉพาะ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งข้อกำหนดของผังเมืองเฉพาะและ/หรือกฎหมายควบคุมอาคารในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
ดูข้อมูล | ||||||
3. ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาเมืองและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปยังทิศทางที่เหมาะสมได้ |
ดูข้อมูล | ||||||
4. จัดทำแผนผังการมช้ประโยชน์ที่ดินที่สงวนรักษาพื้นที่ที่มีคุณค่าทางะรรมชาติ พื้นที่เกษตรกรรม แหล่งน้ำ การอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว เพื่อรักษาระบบนิเวศและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง |
ดูข้อมูล | ||||||
5. จัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับท้องถิ่นที่มีความเชื่อมโยงกับแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับชาติ รวมทั้งการประสานการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเสริมสร้างขีดความสามารถในการปรับตัว |
ดูข้อมูล | ||||||
6. เพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันและเฝ้าระวังการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ในพื้นที่เมืองและชุมชนชายฝั่งทะเลโดยกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยการกำหนดและจำแนกเขตพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ตามระดับความรุนแรงและความเร่งด่วนของปัญหาหรือมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขหรือฟื้นฟูพื้นที่แต่ละประเภท |
ดูข้อมูล | ||||||
7. สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงข่าวสารข้อมูลให้ทันต่อเหตุการณ์ กำหนดบทบาทและแนวปฎิบัติที่ชัดเจนในการเตือนภัยและสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องภายในชุมชนให้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เข้าถึงกลุ่มคนได้ทุกระดับ โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยง |
ดูข้อมูล | ||||||
8. พัฒนาระบบสำรองที่จำเป็นภายในครัวเรือนหรือชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยหรือเมื่อถึงฤดูกาลที่เสี่ยงภัย |
ดูข้อมูล | ||||||
1. พัฒนาเกณฑ์และตัวชี้วัดความสามารถในการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเมือง |
ดูข้อมูล | ||||||
2. พัฒนากลไลการเตือนภัยพิบัติ และรายงานสถานการณ์เตือนภัยพิบัติที่ครอบคลุมสำหรับเมืองในทุกระดับ ที่มีความแม่นยำ เข้าถึงง่าย ทันต่อเหตุการณ์ และสามารถเชื่อมโยงกับระบบเตือนภัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างสมบูรณ์ และสนับสนุนให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ |
ดูข้อมูล |