หน้าหลัก
E-Platform
Guest   
น่าน
ปีฐาน : 2562

 

ข้อมูลสภาพการณ์ความเสี่ยง (Risk Profile) จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของจังหวัด
 

การวิเคราะห์ห่วงโซ่ผลกระทบ (Impact Chain Analysis)


ตารางความเสี่ยงและแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรายสาขา

ตารางแสดงความเสี่ยงและแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรายสาขาทั้งหมด

   
 
 
โครงการ / เรื่อง

ด้านที่ 1

ด้านที่ 2

ด้านที่ 3

ด้านที่ 4

ด้านที่ 5

ด้านที่ 6
จัดการ

1. พัฒนาการจัดทำ Water footprint และระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำต้นทุนและความต้องการใช้น้ำของผู้ใช้น้ำในภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อใช้ในการวางแผนจัดการน้ำอย่างสมดุล (Water balance) มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม โดยผนวกข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการจัดการน้ำ

ดูข้อมูล

2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในการเตรียมรับมือกับอุทกภัยที่มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ระบบนิเวศ และชุมชน โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมและจัดให้มีกลไกในการสร้างความเป็นธรรมแก่ผู้ได้รับผลกระทบ

ดูข้อมูล

3. พัฒนาระบบการพยากรณ์สถานการณ์น้ำและเตือนภัยล่วงหน้า (Early warning system) ให้มีความถูกต้องแม่นยำ โดยบูรณาการข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมกับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการคาดการณ์ รวมถึงกำหนดแนวทางมาตรฐานในการเตือนภัยล่วงหน้า พร้อมจัดทำข้อปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในการเตือนภัย รวมทั้งจัดทำข้อปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับประชาชนโดยอาจพัฒนาในรูปแบบของ Mobile application

ดูข้อมูล

4. ส่งเสริมให้เกิดการผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับการจัดการน้ำ โดยใช้นวัตกรรมที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการน้ำตามบริบทของจังหวัดน่าน เพื่อช่วยต่อยอดองค์ความรู้และสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำของท้องถิ่น

ดูข้อมูล

1. พัฒนาระบบประกันภัยหรือการประกันความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศต่อผลผลิตทางการเกษตรที่เหมาะสม เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงขั้นพื้นฐาน

ดูข้อมูล

2. ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำการเกษตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ดูข้อมูล

3. ส่งเสริมการปรับปรุงพันธุ์พืช/พันธุ์สัตว์ และสนับสนุนการเข้าถึงของเกษตรกรให้สามารถใช้พันธุ์พืช/พันธุ์สัตว์ที่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางภูมิอากาศ

ดูข้อมูล

4. ส่งเสริมการจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจ (Agroeconomic Zone) ที่มีความเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ โดยใช้เกณฑ์ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ ความเหมาะสมของดิน สภาพภูมิอากาศ และสภาพทางเศรษฐกิจ โดยกำหนดและจัดสรรเขตการพัฒนาพื้นที่สำหรับการปลูกพืชแต่ละชนิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรมและเหมาะสม ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพในการผลิตและช่วยจัดการเรื่องการตลาดของผลผลิตทางการเกษตรอย่างเป็นระบบ

ดูข้อมูล

5. ส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความเสื่อมโทรมของดิน เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อหน่วย เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร และสามารถนำพื้นที่มาใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดูข้อมูล

1.พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนการเพิ่มภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในพื้นที่ท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ

ดูข้อมูล

2. การประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว การจัดทำแผนการช่วยเหลือนักท่องเที่ยว เมื่อเกิดภัยน้ำท่วม สร้างจุดอพยพสำหรับนักท่องเที่ยว พัฒนาผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว ในการจัดเตรียมอุปกรณ์ บุคลากร และการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ เพื่อรับมือภัยน้ำท่วม และสร้างระบบการแจ้งเตือนภัย

ดูข้อมูล

3. การอบรมการสร้างความรู้ความเข้าใจในการรับมือภัยดินถล่ม สำหรับผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว การจัดทำแผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม สัญลักษณ์เส้นทางอพยพ จุดรวมพล สำหรับนักท่องเที่ยว สร้างแพลตฟอร์ม (Platform) การแจ้งเตือนภัย และรวบรวมฐานข้อมูลการเกิดภัยดินถล่มในพื้นที่ ผ่านทาง social network และสร้างความตระหนักต่อการเกิดภัยดินถล่มให้แก่ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว

ดูข้อมูล

1. พัฒนากลไกความร่วมมือทุกภาคส่วนทั้งในและนอกระบบสาธารณสุข ในการบริหารจัดการเพื่อป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างส่วนราชการ สถาบันการศึกษา ภาคท้องถิ่นและภาคประชาชน ในการขับเคลื่อนการเฝ้าระวัง และเตรียมรับมือภัยต่อสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประสานเครือข่ายข้อมูลความแปรปรวนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและเตรียมการรับมือภัยสุขภาพได้ทันท่วงที

ดูข้อมูล

2. เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขในทุกระดับ เพื่อรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเชิงรุก โดยการให้บริการข้อมูลคำแนะนำ การสร้างความตระหนักแก่ประชาชนในการปรับตัวในรูปแบบ ต่าง ๆ และทำหน้าที่ประสานงานการปฏิบัติงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานราชการในการเฝ้าระวัง และป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการสนับสนุนการทำงานในเชิงรุกของหน่วยงานระดับพื้นที่ เครือข่ายและอาสาสมัครทางสาธารณสุข

ดูข้อมูล

3. การส่งเสริมการปลูกพืชที่ช่วยดูดซับฝุ่น PM การเตรียมรับมือกับโรคที่มากับภัยแล้ง

ดูข้อมูล

1. สงวนและคุ้มครองพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ยังคงมีสภาพป่าสมบูรณ์ โดยให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และบริหารจัดการกลุ่มป่า การปลูกป่าเป็นแนวเชื่อมต่อระหว่างป่า (Ecological corridor) การปลูกป่าเป็นแนวกันชน (Buffer) เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการอนุรักษ์ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นแหล่งดูดซับน้ำฝนและเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนในลุ่มน้ำและบรรเทาปัญหาดินถล่ม ควบคู่ไปกับการป้องกันแก้ไขปัญหาการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่า

ดูข้อมูล

2. สนับสนุนการปลูกป่าและเพิ่มพื้นที่ป่า ในพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกหรือทำลาย ป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม หรือพื้นที่ว่างนอกเขตป่าธรรมชาติ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยรอบพื้นที่ป่า พร้อมทั้งบูรณาการการดำเนินงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลหลังการปลูก

ดูข้อมูล

3. ส่งเสริมการปลูกป่า 3 อย่าง (เช่น หญ้าแฝก พืชคลุมดิน และการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ) การอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างทีมราษฎรอาสาพิทักษ์ป่า (รสทป.) และอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) การจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน (เช่น พื้นที่ป่าและพื้นที่ดินทำกิน) เพิ่มศูนย์การเรียนรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน เพิ่มการสร้างเรือนเพาะชำพืชพื้นถิ่นประจำหมู่บ้าน เพิ่มโครงการปลูกป่าในใจคน เพิ่มกิจกรรมการซื้อ - ขาย carbon credit และเพิ่มมาตรการการควบคุมการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร

ดูข้อมูล

4. สนับสนุนการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น และชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ซึ่งได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งป้องกันชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่อาจแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้นจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยการนำชนิดพันธุ์หายากหรือใกล้สูญพันธุ์มาขยายพันธุ์ และพัฒนากฎระเบียบและมาตรการในการอนุรักษ์และคุ้มครองความหลากหลาย

ดูข้อมูล

ทางชีวภาพในระบบนิเวศต่าง ๆ โดยเฉพาะชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม ต้องคำนึงถึงความสมดุลของระบบนิเวศเป็นสำคัญ

ดูข้อมูล

5. พัฒนากลไกที่ช่วยส่งเสริมบทบาทของชุมชนที่มีวิถีชีวิตเชิงนิเวศในการสงวนรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ

ดูข้อมูล

1. สนับสนุนปัจจัยพื้นฐานให้กับประชาชนในพื้นที่ เพิ่มจุดรับซื้อพืชผลทางการเกษตร การปรับปรุงระบบการสื่อสาร สัญญาณโทรศัพท์ สัญญาณอินเตอร์เน็ต และการเพิ่มระบบการศึกษา สาธารณสุข และระบบรักษาความปลอดภัย

ดูข้อมูล

2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นและมีความหลากหลายในการรองรับภาวะฉุกเฉินอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติในทุกพื้นที่เสี่ยง รวมถึงจัดทำแผนรับมือภัยธรรมชาติในภาวะฉุกเฉินโดยกระบวนการมีส่วนร่วม พร้อมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบและสามารถนำไปปฏิบัติได้

ดูข้อมูล

3. พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า (Early warning system) และข้อมูลความเสี่ยงต่อภัยพิบัติในระดับชุมชน ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้

ดูข้อมูล

4. พัฒนาและจัดทำแผนในการสำรองระบบที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิตใน

ดูข้อมูล

กรณีเกิดภัยพิบัติหรือภาวะวิกฤต

ดูข้อมูล

5. พัฒนาศักยภาพของชุมชนในการเฝ้าระวัง แจ้งเตือนภัย เผชิญภัย ระงับภัย รวมถึงการช่วยเหลือและฟื้นฟูหลังเกิดภัยในพื้นที่เสี่ยง โดยการจัดอบรมให้ความรู้และมีการซักซ้อมแผนการเฝ้าระวัง เผชิญภัย และระงับภัยอย่างสม่ำเสมอ

ดูข้อมูล
 
 

ข้อมูลสภาพการณ์ความเสี่ยง (Risk Profile) จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของจังหวัด
 
ข้อมูลฐานพื้นที่

ข้อมูลฐานพื้นที่

(1) ข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่ศึกษา_น่าน.xlsx

แบบประเมินรายการความเสี่ยง

แบบประเมินรายการความเสี่ยง

(2) ข้อมูลความเสี่ยงตาม NAP_น่าน.xlsx

Risk Profile Checklist

Risk Profile Checklist

(3) checklist การประเมินความเสี่ยง_น่าน.xlsx